ประวัติกีฬาบริดจ์
กีฬาบริดจ์ เริ่มต้นจากประเทศใดไม่มีหลักฐานระบุไว้แน่ชัด แต่คาดว่าเล่นกันครั้งแรกในยุโรปเมื่อประมาณ 144 ปีมาแล้ว พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ประเทศรัสเซีย อ้างว่าเป็นต้นคิดวิธีการเล่นบริดจ์ และประเทศตุรกีก็อ้างว่ามีการเล่นบริดจ์กันครั้งแรกที่กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล ฝรั่งเศสมีเกมคล้ายบริดจ์ชื่อ เคดีฟ ที่ ริเวียร่า อย่างไรก็ตาม มีผู้กล่าวว่า กีฬาบริดจ์มีต้นกาเนิดมาจากเกมชื่อ วิสท์ (Whist) ซึ่งเล่นกันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2043 (ค.ศ.1500) เล่นกันแพร่หลายในหมู่พลเมืองที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด
ประวัติกีฬาบริดจ์ในประเทศไทย
กีฬาบริดจ์เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย ครั้งแรกเมื่อศตวรรษที่ 20 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงดารงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และเสด็จไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงที่กีฬาบริดจ์แพร่หลาย และเป็นกีฬายอดนิยมโดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ ประมาณ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) หลังจากกลับมาประเทศไทย ท่านดาริให้เล่นกันที่วังพญาไท มีเจ้านายและข้าราชบริพารเล่นกันหลายคน ได้แก่ พระยาสุจริตดารง ม.ล.ปิ่น มาลากุลฯ นายกวด หุ้มแพร เป็นต้น ต่อมาบริดจ์แพร่หลายมากขึ้นในหมู่นิสิตนักศึกษา และประชาชน จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 100 กว่าปีแล้ว
การก่อตั้งสมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทย
หลังจากเล่นกีฬาบริดจ์กันไประยะหนึ่งจนถึง พ.ศ. 2489 หม่อมเจ้าเจษฎากร วรวรรณ ดาริว่า ควรจะจัดตั้งสมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทยขึ้น แต่ปรากฏว่าขาดผู้สนับสนุน และท่านประสบอุบัติเหตุสิ้นพระชนม์ไปก่อน ต่อมาวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2491 เรือเอกฮันเตอร์ (Lieutenant Senior Grade William H. Hunter) ผู้ช่วยทูตทหารเรืออเมริกัน เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทยขึ้นโดยได้รับฉันทานุมัติจาก ผู้แทนสโมสร/สมาคมทุกคนที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ นายทวี แรงขา นายแพทย์เฉลิม บูรณานนท์ นาวาเอกสรรใจ บุนนาค (ยศขณะนั้น) และนายบุญมา วงศ์สวรรค์ หลังจากนั้นได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนก่อตั้งสมาคม และได้รับอนุมัติจากกรมตารวจให้ก่อตั้งได้ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491
กีฬาบริดจ์กับการแข่งขันระดับนานาชาติ และ ระดับโลก
World Bridge Federation Championships (WBF) สหพันธ์บริดจ์โลกเป็นองค์กรกีฬาบริดจ์ที่ใหญ่มาก ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) หลังการแข่งขันระดับโลกครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2493 (ค.ศ.1950) 7 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 109 ประเทศ จำแนกเป็น 8 โซน (Zone) ประเทศที่อยู่ในภาคพื้นเดียวกันอยู่ในโซนเดียวกัน ประเทศไทยจัดอยู่ในโซน 6 เรียกว่า Asia Pacific Bridge Federation (APBF) เดิมใช้ชื่อว่า Far East Bridge Federation (FEBF) มีภาคีสมาชิก 12 ภาคี คือ
จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย มาเก๊า อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง มองโกเลียและไทย
ทีมที่แข่งขันชนะลาดับที่ 1 — 3 มีสิทธิ์ไปเข้าร่วมการแข่งขันระดับโลก (World Bridge Federation Championships) ประเทศไทยเคยชนะเลิศโซนประเภททีมทั่วไป 4 ครั้ง และทีมหญิง 2 ครั้ง ได้ไปแข่งขันระดับโลก ประเทศที่ชนะเลิศการแข่งขันทีมทั่วไประดับโลก จะได้ถ้วยเบอร์มิวด้า (BERMUDA BOWL) ส่วนทีมหญิงชนะเลิศ จะได้ถ้วยเวนิซ (VENICE CUP)
ทีมตัวแทนประเทศไทยที่เคยชนะเลิศในการแข่งขันคัดโซน 6 รายการ APBF Championships หรือ
Far East Bridge Federation เดิม
ปี พ.ศ. 2504 เป็นการแข่งขัน 5th FEBF ที่กรุงเทพมหานคร
ประเภททีมทั่วไป ประกอบด้วย
1.นายทวี แรงขา หัวหน้าทีม
2.นายโกวิท สุจริตกุล
3.พ.อ.มล.เถกิงเดช สุทัศน์
4.นายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์
5.นายแพทย์สนอง อูทากูล
6.Mr.K.W. SHEN
7.Mr. E.R. GAAN
ปี พ.ศ. 2506 เป็นการแข่งขัน 7th FEBF ที่ ไทเป
ประเภททีมทั่วไป ประกอบด้วย
1.นายสุทัศน์ สิริสวย หัวหน้าทีม
2.นายโกวิท สุจริตกุล
3.นายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์
4.นายบุญธรรม นันทเทิม
5.นายมนู วีระบุรุษ
6.นายเอื้อ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ปี พ.ศ. 2507 เป็นการแข่งขัน 8th FEBF ที่ โตเกียว
ประเภททีมหญิง
1.นางเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ ณ อยุทธยา
2.มล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม
3.นางสายสวาท จาง
4.นางแกลดีส ฮวง
ปี พ.ศ. 2508 เป็นการแข่งขัน 9th FEBF ที่ ฮ่องกง
ประเภททีมทั่วไป ประกอบด้วย
1.พ.อ.มล.เถกิงเดช สุทัศน์ หัวหน้าทีม
2.นายโกวิท สุจริตกุล
3.น.ต.อนันต์ บุญสุภา
4.นายมนู วีระบุรุษ
5.นายเอื้อ อิศรางกูร ณ อยุธยา
6.นายปัทม์ นรพัลลภ
7.นายวิบูลย์ รัศมีทัต
ปี พ.ศ. 2509 เป็นการแข่งขัน 10th FEBF ที่ กรุงเทพมหานคร
ประเภททีมทั่วไป ประกอบด้วย
1.นายแพทย์มงคล สืบแสง หัวหน้าทีม
2.นายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์
3. .Mr.K.W. SHEN
4. Mr. E.R. GAAN
5.Mr.BENNO GIMKIEWICZ
6.นายประกอบ วนิคพันธ์
7.นายสระ โพธิสุวรรณ
ประเภททีมหญิง
1.น.ต.อนันต์ บุญสุภา หัวหน้าทีม
2.นางเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
3.มล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม
4.นางสายสวาท จาง
5.นางแกลดีส ฮวง
6.นางมานี ทิพวาที
7.นางอินทิรา จันทรสมบูรณ์
ในการแข่งขัน World Team Championships ซึ่งเป็นการแข่งขันชิงแชมป์โลกนั้น ทีมตัวแทนจากประเทศไทยทาผลงานได้ดีที่สุด 2 ครั้งคือ
ปี ค.ศ. 1966 เป็นการแข่งขัน World Team Championships ครั้งที่ 14 ณ ประเทศ อิตาลี
ทีมตัวแทนประเทศไทยได้อันดับที่ 5 ของการแข่งขัน ซึ่งประเทศอิตาลี ได้แชมป์โลก
ตัวแทนทีมชาติไทย ประกอบด้วย
1.นายทวี แรงขา หัวหน้าทีม
2.น.ต.อนันต์ บุญสุภา
3. Mr. E.R. GAAN
4. Mr.BENNO GIMKIEWICZ
5.Mr.HASAN ISTENVELI
6.นายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์
ปี ค.ศ. 1967 เป็นการแข่งขัน World Team Championships ครั้งที่ 15 ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกา
ทีมตัวแทนประเทศไทยได้อันดับที่ 4 ของการแข่งขัน ซึ่งประเทศอิตาลี ได้แชมป์โลก
ตัวแทนทีมชาติไทย ประกอบด้วย
1.Mr. H. LAU หัวหน้าทีม
2.น.ต.อนันต์ บุญสุภา
3. Mr. E.R. GAAN
4. Mr.BENNO GIMKIEWICZ
5.Mr.K.W. SHEN
6.นายสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์
7.นายแพทย์เชิด ศีตะจิตต์
นับว่าเป็นยุคที่วงการบริดจ์ไทยเฟื่องฟู และทาผลงานได้ดีที่สุดจากอดีต จนถึงปัจจุบัน
โดยกีฬาบริดจ์ในยุคนั้นเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง มีนักบริดจ์รุ่นใหม่เกิดขึ้นมากมาย มีจำนวนผู้เล่นมาก
และเป็นยุคทองของวงการบริดจ์ไทย
Asean Bridge Club Championships เป็นการแข่งขันระหว่างสโมสรของประเทศต่าง ๆ ในแถบ South East Asia ประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย หมุนเวียนสลับกันเป็นเจ้าภาพทุกปี เริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 นับถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2566 เป็นเวลา 44 ปี ซึ่งประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมาแล้วทั้งสิ้น รวม 8 ครั้ง ประเทศไทยเคยชนะเลิศประเภททีมทั่วไป 3 ครั้ง ทีมหญิง 7 ครั้ง ทีมผสม 11 ครั้ง และทีมเยาวชน 11 ครั้ง
ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากการก่อตั้งสมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาบริดจ์มาโดยตลอด และได้เข้าร่วมกับการกีฬาแห่งประเทศไทย วัตถุประสงค์ในการดำเนินสมาคมฯเพื่อส่งเสริมกีฬาบริดจ์ของประเทศไทย และคัดเลือกนักกีฬาตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยจะยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมฯกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในปี พ.ศ.2543 การกีฬาแห่งประเทศไทยได้บรรจุกีฬาบริดจ์เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 32 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และได้บรรจุต่อเนื่องมาหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีการบรรจุในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬามหาวิทยาลัย และระดับอื่นๆ
ในปี พ.ศ. 2554 มนตรีซีเกมส์ได้บรรจุกีฬาบริดจ์ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 26 ที่ประเทศอินโดนิเซีย และได้รับรองชนิดกีฬาที่สามารถจัดได้ในซีเกมส์ ตามบทบัญญัติของธรรมนูญซีเกมส์ ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ผลงาน 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง
ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการออกพระราชบัญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.2558 สมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทย ได้ยื่นขอจดทะเบียนสมาคมกีฬากับการกีฬาแห่งประเทศไทย นายทะเบียนกีฬาประจากรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนแปลงชื่อสมาคม เป็น สมาคมกีฬาบริดจ์แห่งประเทศไทย วัตถุประสงค์ในการขอจดทะเบียน
1.เพื่อทำหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ควบคุม ดูแล พัฒนา และเผยแพร่ และดำเนินกิจกรรมกีฬาบริดจ์ภายในประเทศ
2.เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ดาเนินการจัดการแข่งขันภายในประเทศ โดยกากับควบคุมและรับรองการจัดการแข่งขันให้มีมาตรฐาน เป็นไปตามที่สมาคมกำหนดในแต่ละระดับ สอดคล้องกับกฎระเบียบสหพันธ์บริดจ์โลก และสหพันธ์บริดจ์ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
3.เพื่อพัฒนาการเล่นบริดจ์ของประเทศไทย ตลอดจนพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนบุคลากร ในระดับต่างๆ ให้มีมาตรฐานความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้น
4.เพื่อร่วมมือกับการกีฬาแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาตลอดจน ดาเนินการประสานงานติดต่อร่วมมือกับองค์กรและประเทศต่างๆ ในนามประเทศไทยในด้านกีฬาบริดจ์
5.เพื่อส่งเสริมให้มีภาคีสมาชิกมาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
6.เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและช่วยเหลือภาคีสมาชิกในด้านต่างๆ ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่สมาคมกาหนด
7.เพื่อส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความเป็นกลางและไม่ให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด
ในปี พ.ศ. 2559 สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย Olympic Council of Asia ( OCA ) ได้พิจารณาบรรจุกีฬาบริดจ์ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่ประเทศอินโดนิเซียจะเป็นเจ้าภาพ โดยกีฬาบริดจ์ได้ถูกบัญญัติไว้ในชนิดกีฬาของการแข่งขันเอเชียนอินดอร์–มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ผลงาน 1 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง
และในปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย Olympic Council of Asia ( OCA ) ได้พิจารณาบรรจุกีฬาบริดจ์ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพ
Aug. 23, 2024, 2:46 a.m.